เมนู

ไว้เพียงนั้น. ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวการอยู่นั้นว่าพรหมวิหาร การอยู่อย่าง
พรหม กล่าวการอยู่นั้นว่า เสฏฺฐวิหาร การอยู่อย่างประเสริฐสุด ในพระ-
ศาสนา คือในธรรมวินัยของพระอริยนี้ เพราะไม่มีโทษในการอยู่อย่างทิพย์
อยู่อย่างพรหม อยู่อย่างพระอริยะและอยู่โดยอิริยาบถวิหาร และการอยู่ด้วย
เมตตานั้นทำประโยชน์ทั้งแก่คนทั้งแก่ผู้อื่น. เพราะเหตุที่ความสงบติดต่อกัน
ไม่ถูกแทรกแซง ฉะนั้น ผู้เจริญเมตตา ยืนก็ดี เดินก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี
ยังไม่ง่วงนอนเพียงใด ก็พึงตั้งสตินั้นไว้เพียงนั้น.

การพรรณนาคาถาที่ 10


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนาประการต่าง ๆ แก่
ภิกษุเหล่านั้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพราะเหตุที่เมตตาใกล้ต่ออัตตทิฏฐิความเห็น
ว่าเป็นคน เพราะมีสัตว์เป็นอารมณ์ ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงการบรรลุอริยภูมิ
ทำเมตตาฌานนั้นนั่นแหละให้เป็นบาท แก่ภิกษุเหล่านั้น โดยยกการห้าม การ
ถือทิฏฐิขึ้นนำหน้า จึงทรงจบเทศนาด้วยคาถานี้ว่า ทิฏฺฐิญฺจ อนุปคมฺม
เป็นต้น.
คาถานั้น มีความว่า การอยู่ด้วยเมตตาฌานนี้ใด ทรงสรรเสริญไว้
ว่า พรหฺมเมตํ วิหารํ อิธมาหุ ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวการอยู่นั้น ว่าพรหม-
วิหารในพระธรรมวินัยนี้ ผู้เจริญเมตตา ออกจากการอยู่ด้วยเมตตาฌานนั้น
แล้ว กำหนด [นาม] ธรรม มีวิตกวิจารเป็นต้น ในที่นั้น และรูปธรรมตาม
แนวการกำหนด [นาม] ธรรมเหล่านั้นเป็นต้น แล้วกำหนดอรูปธรรม และ
ด้วยการกำหนดนามรูป ก็ไม่ยึดทิฏฐิอย่างนี้ว่า นี้กองสังขารอันบริสุทธิ์บุคคล
ย่อมถือไม่ได้ว่าสัตว์ในสังขารนี้ดังนี้ เป็นผู้มีศีลโดยโลกุตรศีลตามลำดับ ถึง
พร้อมด้วยทัสสนะ ที่เข้าใจกัน ว่าสัมมาทิฏฐิในโสดาปัตติมรรค ซึ่งประกอบ